โรคผู้สูงอายุ ที่มักพบบ่อยๆ คือ
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ สาเหตุมาจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้เพียงพอ หรือออกมาไม่ได้เลย หรือสร้างได้แต่อินซูลินทำงานได้ไม่ดี คือ ไม่สามารถนำน้ำตาลจากกระแสเลือดไปให้เซลล์ใช้เป็นพลังงานได้ ผลคือ ทำให้น้ำตาลในเลือดเหลือค้างมากกว่าปกติ (ในคนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้า จะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 70 - 99 ม.ก. และหลับรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมงระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 ม.ก.) เมื่อน้ำตาลอยู่ในเลือดสูงเกิน 180 ม.ก. ไตจะขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ซึ่งสามารถตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้ จึงเรียกว่า "โรคเบาหวาน"
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
โรคนี้จะสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะถ้าเป็นน้อยอาจจะไม่มีอาการ ต้องเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลเป็นหลัก สำหรับเกณฑ์คนที่ถือว่าเป็นเบาหวาน คือ
1) ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้า ตั้งแต่ 126 ม.ก. ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
2) ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ว่าจะเป็นเวลาใดเกิน 200 ม.ก. ร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน กล่าวคือ หิวบ่อยแต่น้ำหนักลดลง ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อยๆ
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิตเป็นแรงผลักดันให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบด้วยค่าสองค่า คือความดันตัวบน และความดันตัวล่าง เช่น 120/80 120 เป็นค่าความดันตัวบนซึ่งเกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน 80 เป็นค่าความดันตัวล่างซึ่งเป็นความดันในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจอยู่ในระยะพักก่อนที่จะบีบตัวครั้งต่อไป ความดันโลหิตทั้ง 2 ค่ามีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท)
ความดันโลหิตเท่าใดถึงจะถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ขั้นตอนต่างๆ ของความดันโลหิต |
ระดับความดันตัวบน |
ระดับความดันตัวล่าง |
ปกติ | น้อยกว่า 120 | และน้อยกว่า 80 |
ระยะก่อนเกิดความดันโลหิตสูง | 120 - 139 | หรือ 80 - 89 |
ความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1 | 140 - 159 | หรือ 90 - 99 |
ความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2 | 160 หรือมากกว่า | 100 หรือมากกว่า |
ตารางข้างบนแสดงการแบ่งขั้นของความดันโลหิตในบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรณีที่ความดันตัวบนกับตัวล่างอยู่ต่างขั้นกันให้ถือขั้นที่รุนแรงกว่าเป็นตัวตัดสิน เช่น ความดัน 150/105 จัดอยู่ในความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2 และความดัน 170/85 อยู่ในข้นที่สองเช่นกัน
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
90% มักไม่พบสาเหตุโดยตรง มีส่วนน้อยที่เราพบสาเหตุโดยตรงของโรค ซึ่งเมื่อรักษาสาเหตุแล้วทำให้โรคความดันโลหิตสูงดีขึ้นหรือหายขาดได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง
ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแต่ไม่มีสาเหตุโดยตรงมักพบภาวะต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ ได้แก่
โรคความดันโลหิตสูงมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
โรคนี้ยิ่งเป็นรุนแรงและเป็นนานเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนมากเท่านั้น ได้แก่
การรักษาความดันโลหิตสูงจะลดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้อย่างชันเจน
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคนี้มักไม่มีอาการแม้ในขณะที่ความดันโลหิตสูงกำลังทำอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายอย่างต่อเนื่อง ในส่วนน้อยอาจะมีอาการปวดหัว โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนเช้า มึนงง ตาพร่า อ่อนเพลียซึ่งเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรงและเป็นเวลานานจนมีอวัยวะเสื่อมสมรรถภาพก็จะมีอาการของโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา
สิ่งที่ต้องทำในทุกกรณีของโรคความดันโลหิตสูง
"อย่าปล่อยให้คนที่รักคุณมากที่สุด ต้องเจ็บป่วย ดูแลเค้าตั้งแต่วันนี้ดีกว่า"
ที่สถานพยาบาลเกษมเวชกรรม มีคุณหมอที่มีประสบการณ์การตรวจแมะมามากกว่า 30 ปี เข้าใจปัญหาของโรคต่างๆ อย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะโรคที่คนไทยเป็นจำนวนมาก เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคไต เป็นต้น
โทร. 02-969-7667-8 , 02-527-1289 (หยุดทุกวันพุธ) ตั้งแต่เวลา 9:00-19:00น.
Facebook: www.facebook.com/kasemwet
Line id: @kasemwet
ตัวอย่างวีดีโอ ที่เกษมเวชกรรม ดูแลผู้สูงอายุ จนอาการดีขึ้น แข็งแรงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยครับ